9/16/2554

หลักการและขั้นตอนในการพัฒนาสื่อในงานวิจัยระดับ ป.เอก

ชื่องานวิจัย : การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสำหรับนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย
                       Health-Related Physical Fitness Development for Late Adolescence Students
         ผู้วิจัย : บุญเลิศ อุทยานิก
                       บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. หลักการและขั้นตอนในการพัฒนาสื่อในงานวิจัย
             1.1 ผู้วิจัยคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ
             1.2 ผู้วิจัยทดสอบสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนักเรียน
             1.3 ผู้วิจัยประเมินสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพนักเรียน
             1.4 ผู้วิจัยสร้างโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม
             1.5 ผู้วิจัยได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่ได้มาตรฐาน
            1.6 นักเรียนมีสุขภาพทางกายที่ดี
2. หลักการประเมินสื่อและเทคโนโลยีของผู้วิจัย   
       ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบทางกายที่หาค่าเที่ยงตรง  ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศและสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย ซึ่งได้เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยดังนี้
·         แบบทดสอบสถานะสุขภาพ
·         เกณฑ์การประเมินสถานะ
·         แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย
·         เกณฑ์สมรรถภาพทางกาย
·         โปรแกรมการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย
·         การเก็บรวบรวมข้อมูล
·         การวิเคราะห์ข้อมูล
·         สรุปผล
3. ผลการนำผลสื่อและเทคโนโลยีมาใช้ 
1. มีนักเรียนวัยรุ่นตอนปลายร้อยละ  71.91 หรือ 70 % เข้ารับการประเมินปัญหาสมรรถภาพทางกาย วัยรุ่นกลุ่มนี้มีอัตราความเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบหัวใจ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ   นักเรียนอีก  30 % หรือร้อยละ 28.8 ก็จะเป็นกลุ่มเสี่ยงอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อระบบหัวใจ
2.  นักเรียนวัยรุ่น 35% ทำการวิฉัยพบว่ามีปัญหากับความอดทนระบบหัวใจและระบบไหลเวียนของเลือด
3. นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง  ถึง 89  คน  วินิฉัยและประเมินประสิทธิภาพมีความสมดุลระหว่างน้ำหนักส่วนสูง และมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 27 คน การประเมินมีปัญหาทางสุขภาพความไม่สมดุลระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูง
4.  ค่าเฉลี่ยคะแนนความอดทนของระบบหัวใจและการใหลเวียนเลือด  ด้วยการวิ่ง  20  เมตร  หลังการฝึก  8 สัปดาห์เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.5
5.  ค่าเฉลี่ยความอดทน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อท้อง หลังฝึก 8 สัปดาห์   เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.5
6.  ค่าเฉลี่ย ความยืดหยุ่น ของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ก่อนและหลังทดสอบ 8 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1และ 0.5

7/28/2554

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ"

 ร่างกายของเรานั้น ธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ ให้อยู่เฉย ๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดี โดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็เจริญแข็งแรง คล่องแคล่วและคงทนยั่งยืน ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือใช้ไม่พียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงอยู่ไม่ได้ แต่จะค่อย ๆ เสื่อมไปเป็นลำดับ และหมดสมรรถภาพไปก่อนเวลาอันสมควร ดังนั้น ผู้ที่ปรกติทำการงานโดยไม่ได้ใช้กำลัง หรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังกาย ให้พอเพียงกับความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน มิฉะนั้น จะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่เขาจะใช้สติปัญญาความสามารถของเขาทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง และแก่ส่วนรวมได้น้อยเกินไป เพราะร่างกายอันกลับกลายอ่อนแอลงนั้น จะไม่อำนวยโอกาสให้ทำการงานโดยมีประสิทธิภาพได้

7/26/2554

ประสบการณ์ทำงานด้านกีฬา...บรรยายด้วยภาพ

                           
 ผู้ตัดสินฟุตบอลสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมชูปถัมภ์

อบรมผู้ตัดสินประจำปี 2553 ที่โรงเรียนกีฬาจังหวัด สุพรรณบุรี


 







อบรมผู้ตัดสินประจำปี 2554 ที่จังหวัดเพชรบุรี




ฝึกภาคสนาม


                                     
                                                                   ทดสอบสมรรถภาพ 
ทดสอบสมรรถภาพ






ตัดสินฟุตบอล เยาวชนและประชาชน ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย รุ่นอายุ 12 ปี จังหวัดเลย





 



ตะคริว (muscle cramps)

ตะคริว หมายถึง อาการกล้ามเนื้อเกร็งแข็งและปวด ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาที กล้ามเนื้อที่พบเป็นตะคริว ได้บ่อย ได้แก่ กล้ามเนื้อน่อง และตันขา ตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งมักจะพบเป็นครั้งคราวในเกือบทุกคน

สาเหตุ 
ส่วนมากจะไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรงเป็นเพียงชั่วเดี่ยวเดียวก็หาย ได้เองบางคนอาจเป็นตะคริวที่น่องขณะนอนหลับโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด บางคนอาจเป็นหลังออกกำลังกายมากกว่าปกติ หรือนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ (ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก) ผู้ที่มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรืออาจเกิดจากการไหลเวียนของเลือด ไปที่ขาไม่สะดวกในคนที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) เช่น คนสูงอายุที่มีโอกาสเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น และอาจเป็นขณะที่เดินนานๆ หรืออากาศเย็นตอนดึก หรือเช้ามืด เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไปที่ขาไม่ดี
ในผู้ป่วยที่ร่างกายเสียเกลือโซเดียม เนื่องจากท้องเดิน อาเจียน หรือสูญเสียไปทางเหงื่อเนื่องจากความร้อน (อากาศ หรือทำงานในที่ร้อนจัด) อาจเป็นตะคริวรุนแรง คือ เกิดกับกล้ามเนื้อหลายส่วน ของร่างกาย และมักจะเป็นอยู่นาน
การรักษา 
1. ขณะที่เป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดหัวเข่าให้ตรง ให้ดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาหัวเข่า ให้มากที่สุด ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาให้เหยียดหัวเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากเตียงเล็กน้อยกระดกปลายเท้าลงล่าง (ไปทางด้านตรงข้ามกับหัวเข่า)
2. ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนดึกบ่อยๆ (เช่น หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ) ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้น และยกเท้าสูง (ใช้หมอนรอง) จากเตียง 10 ซ.ม. (4 นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทตกินวันละ 1-3 เม็ด
3. ถ้าเป็นตะคริวจากการเสียเกลือโซเดียม (เช่น เกิดจากท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก) ควรให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ ถ้าดื่มไม่ได้ ควรให้ดื่มน้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ทางหลอดเลือดดำ
4. ถ้าเป็นๆ หายๆ บ่อย โดยเฉพราะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนานๆ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุ อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอื่นๆ 

7/25/2554

ความจำเป็นและประโยชน์ของวิตามินเกลือแร่

ขบวนการเผ่าผลาญอาหารเพื่อให้พลังงานนั้น มีวิตามินเข้ามาเกี่ยวข้องหลายตัว ดังนั้น เมื่อมีการสร้างพลังงานมาก ก็น่าจะต้องการวิตามินเกลื่อแร่มากขึ้น การดูแลโภชนาการโดยการบริโภคอาหาร 5 หมู่ ให้พอมีความหลากหลาย จะช่วยให้ร่างกายได้สารอาหารพอ หรือกรณีที่ไม่มั่นใจว่าจะได้รับวิตามินไม่พอ วิตามินรวมธรรมดาๆ ก็อาจจะช่วยได้ ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่มีการแนะนำ ว่าต้องได้วิตามินเกลือแร่ตัวใดตัวหนึ่งมากเป็นพิเศษอย่างไรก็ดียังมีเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระ ที่กำลังโด่งดังอยู่ในขณะนี้
ในเรื่องของอนุมูลอิสระ กล่าวถึงการทำลายผนังเซลล์ ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพเร็ว ใช้อธิบายความแก่ชรา รวมทั้งการ ที่ผู้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาได้รับออกซิเจนเข้าไปมาก เกิด oxidative stress ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในบริเวณของกล้ามเนื้อและตับ การบริโภคอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าระดับที่แนะนำไว้ของคนปกติ (เช่น วิตามินซี อี เบต้าแคโรทีน ซีลีเนียม) อาจจะจำเป็น
การศึกษาในคนก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า การเสริมสารต้านอนุมูลอิสระอาจจะช่วยหรือไม่ช่วยให้สมรรถภาพดีขึ้นถึงแม้ นักวิจัยหลายกลุ่มเริ่มเห็นความสำคัญว่าควรเสริมมากกว่าคนปกติ แต่ก็ควรอยู่ในรูปของอาหารหรือถ้าเป็นการเสริมก็ไม่ควรต่างจาก ค่าปกติที่แนะนำทั่วไป

กีฬาสร้างมิตรภาพ

"กีฬาสร้างคน คนสร้างชาติ" เป็นสโลแกนสั้นๆ แต่ได้ใจความ ผมยังไม่แน่ใจว่าการเล่นกีฬาทุกวันนี้ จะเหมือนคำพูดที่กล่าวไว้เบื้องต้นหรือไม่ เพราะทุกวันนี้กีฬาแทบทุกชนิดมันมีผลประโยชน์ทางธุรกิจเป็นตัวตั้ง ฉะนั้นผลแพ้ชนะย่อมมีผลต่อการทำทีม และอนาคตของผู้เป็นโค้ช ถ้าผลงานดีก็ถือว่าโค้ชมีอนาคตที่สดใส ถ้าผลงานย่ำแย่ก็ถือว่าเก้าอี้ของโค้ชสั่นคลอนแน่นอน ส่วนนักกีฬานั้นเล่นเพื่อผลงานของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ทำให้การเล่นขาดเรื่องความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่รู้จักคำว่าแพ้ ต้องชนะอย่างเดียว เรื่องการให้อภัยไม่ต้องพูดถึง
ถ้าจะพูดให้แคบลงไปให้ดูเรื่องใกล้ตัว ผมหมายถึงวงการกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น1 ดิวิชั่น2 และไม่นับรวมรายการแข่งขันที่แยกย่อยไปอีก ซึ่งทุกวันนี้วงการฟุตบอลในประเทศไทยกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก และได้ดำเนินการเป็นมืออาชีพเหมือนต่างประเทศ ทำให้ระบบการแข่งขันและการจัดการเป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น ดังนั้นการเป็นมืออาชีพทำให้มีผลประโยชน์เกิดขึ้นมากมาย ยกตัวอย่างเช่น มีนักการเมืองเข้าไปบริหารทีมฟุตบอลเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง มีนักธุรกิจเข้าไปบริหารทีมฟุตบอลดังนั้นนักธุรกิจมีแต่คำนึงถึงผลกำไรเป็นที่ตั้ง
ผมได้เข้าไปสัมผัสเกมฟุตบอลในนามผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มากมายได้พบเห็นด้วยตัวเอง ว่าสิ่งที่วงการฟุตบอลในประเทศไทยเริ่มจะขาดในเรื่อง ความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยไปนั้น
แต่สิ่งที่ผมยังมั่นใจว่าการเล่นกีฬาเพื่อสร้างมิตรภาพ สร้างความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัยยังมีอยู่ในวงการกีฬา ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มเเล็กๆ ผมหมายถึงทีมฟุตบอลบุคลากรของหน่วยงานของผมคือทีมฟุตบอลบุคลากรของมหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งพวกเราได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ครั้งที่ 30 (คาวบอยเกมส์) ซึ่งได้แชมป์มาครองได้สำเร็จ แต่ผมว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด ร่วมการฝึกซ้อม ซึ่งการทำหน้าที่นั้นทุกคนในทีมนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งหมายถึง ทุกคนทำเพื่อมหาวิทยาลัย ทำงานเป็นทีม เพราะไปในนามขององค์กร และทำเพื่อบุคลากรทุกคนที่นั่งทำงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยแทนพวกเรา ในขณะที่พวกเราไม่ได้ทำงานแต่พวกเรากำลังทำหน้าที่ทางกีฬาเพื่อนำชื่อเสียงมาให้กับมหาวิทยาลัย ความหลากหลายของบุคลากรต่างหน่วยงาน เกมฟุตบอลทำให้พวกเรารวมกันเป็นทีม ถ้าจะพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องกีฬาสร้างมิตรภาพแล้ว ถ้าทุกคนร่วมแรงร่วมใจ ทำงานเพื่อปรโยชน์ส่วนรวมแล้ว ไม่นึกถึงประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก จะทำให้สังคมไทยและประเทศไทยน่าจะมีมิตรภาพ น่าอยู่ยิ่งขึ้นไป